วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

บ้านที่น่าอยู่





ลักษณะของบ้านที่น่าอยู่และการดูแลรักษาบ้าน

 บ้านที่น่าอยู่อาศัยจะต้องสะอาดถูกสุขทั้งภายในบ้านและบริเวณบ้าน โดยภายในบ้านจะต้องมี  การดูแลรักษาบ้าน ปัด กวาด เช็ดถู เป็นประจำ ไม่มีฝุ่นละอองหรือหยากไย่  เครื่องเรือนเครื่องใช้ปราศจากความ  สกปรกแม้แต่ บริเวณบ้าน  ได้แก่ รั้ว สนาม ทางเดินเข้าบ้านก็ต้องสะอาดร่มรื่น ไม่มีเศษขยะ  เศษใบไม้ร่วงอยู่ตามพื้น
 ควรจัดบ้านให้มีพื้นที่สะดวกสบาย พอเหมาะกับจำนวนคนที่อยู่อาศัยโดยไม่แออัด มีอากาศถ่ายเทสะดวก หน้าต่างหรือช่องทางให้ลมผ่านได้ แสงแดดส่องถึง  มีที่ที่สำหรับให้สมาชิกทำกิจกรรมต่างๆ เช่น  ดูโทรทัศน์ นั่งพักผ่อน มีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้เป็นที่ เพื่อให้หยิบมาใช้ได้สะดวก และจัดวางเครื่องเรือนไว้พอเหมาะกับห้อง  เพื่อให้ห้องนั้นมีพื้นที่กว้าง สะดวกต่อการทำกิจกรรมต่างๆ
 บ้านที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน ได้แก่ การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เป็นระเบียบ  ไม่เกะกะ มีหิ้ง ชั้น หรือตู้สำหรับเก็บของ เพื่อให้บริเวณต่างๆ แลดูโปร่ง   นอกจากนี้ควรมีการจัดตกแต่งภายในบ้าน และบริเวณบ้านให้เหมาะสม เช่น นำสิ่งของมาจัดวางไว้ให้สวยงามและเกิดความสมดุล ใช้สีผ้าม่านที่สวยงาม ตกแต่งให้ดูสบายตา  ก็จะทำให้บ้านมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

 การเลือกที่อยู่อาศัย
 ทำเลที่ตั้ง ใกล้ที่ทำงาน ใกล้โรงเรียน ใกล้ตลาด หรือสวนสาธารณะ ควรหลีกเลี่ยงสลัม / แหล่งทิ้งขยะ / เมรุเผาศพ / เสาไฟแรงสูง / อาคารสูงซึ่งบังทิศทางลม แสงสว่าง และทำให้เสียความเป็นส่วนตัว / บ่อนการพนัน โรงงาน / สถานบันเทิงยามราตรี ฯลฯ และดูสภาพจราจร ระบบขนส่งมวลชน (รถเมล์ รถไฟฟ้า) ว่าเป็นอย่างไร
 รูปลักษณ์และโครงสร้างภายนอกของบ้าน ออกแบบสวยงามหรือไม่ สภาพถนนหน้าบ้านเป็นอย่างไร มีสนามหญ้า ต้นไม้ สวนหย่อม ที่จอดรถ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น ฯลฯ หรือไม่ มีรอยแตก ร้าว รั่วหรือไม่ ทั้งผนัง หลังคา ฯลฯ ระบบท่อระบายน้ำเรียบร้อยดีหรือไม่ มีการต่อเติมอะไรที่เพิ่มความเสี่ยงเกี่ยวกับโครงสร้างอาคารหรือไม่
 สภาพตึกและห้องเก่าหรือใหม่ ขนาดห้องใหญ่พอหรือไม่ ประตูบ้านและห้องแข็งแรง ปิด-เปิดสะดวกหรือไม่ สภาพกลอนประตูแข็งแรงดีหรือไม่ มีหน้าต่างมากพอหรือไม่ พื้นบ้านทำด้วยอะไร ไม้ พรมหรือกระเบื้อง ฯลฯ ระบบแสงสว่าง ประปา ปั๊มน้ำ ดีหรือไม่ และราคาเหมาะสมกับทำเลหรือไม่

เราจะต้องดูแลบ้านเพื่อให้บ้านนั้นเป็นบ้านที่น่าอยู่ บ้านที่ทุกคนในครอบครัวจะมีความสุขกันมากที่สุด  มีความสะดวกสบายทั้งกายและใจ





บ้านน่าอยู่ หมายถึง บ้านที่จัดการทางสิ่งแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจของสมาชิกภายในบ้าน รวมผู้มาเยี่ยมเยือนและชุมชนโดยรอบทั้งนี้สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพดี รวมถึงการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการสร้างสภาพแวดล้อมในบ้าน เพื่อสนับสนุนให้สมาชิกทุกคน มีวิถีการดำรงชีวิตประจำวันอย่างถูกสุขลักษณะ และมีความสุขเมื่ออยู่บ้าน รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและชุมชนครอบครัว หมายถึง สถาบันสังคมที่ประกอบด้วย สามี ภรรยา และบุตรเป็นต้นครอบครัวและเครือญาติ หมายถึง ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนทางสายโลหิตและการแต่งงาน วัฒนธรรมการจัดระบบครอบครัวและเครือญาติของสังคมไทยจะสัมพันธ์โดยตรงต่อการกำหนดวิถีชีวิตของชุมชนหมู่บ้าน“บ้านน่าอยู่ คู่ครอบครัวไทย” จัดทำเพื่อให้ครอบครัวไทยตระหนักความสำคัญของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดก็คือ “บ้าน” ช่วยกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และบริเวณบ้านให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมของสมาชิกทุกคนในบ้านรวมทั้งมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการพัฒนาด้านอื่นๆในสังคมอย่างต่อเนื่องการทำบ้านให้น่าอยู่ส่งผลดีหลายประการ ได้แก่
  1. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกายและจิตใจ
  1. สุขนิสัยที่ดีในเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพฟติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม
  1. ป้องกันและลดอัตราการเกิดโรค อุบัติเหตุ ปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งอาชญากรรมในสังคม
  1. ครอบครัวอบอุ่น มีความรัก เอื้ออาทรต่อกันซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ
  1. ชุมชนเข้มแข็ง มีความรัก / สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การเป็นบ้านเมืองน่าอยู่และเมืองไทยแข็งแรง(Healthy Thailand) จะทำบ้านให้น่าอยู่ได้อย่างไร การจัดสภาพบ้านเรือนให้น่าอยู่ น่าอาศัย ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล พึงควรคำนึงถึง ตัวบ้าน บริเวณบ้าน ภายในบ้าน สุขภาวะในครอบครัว ตัวบ้าน มั่นคง แข็งแรง ไม่มีส่วนใดชำรุด เช่น พื้นบันได ลูกกรง เป็นต้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว บริเวณบ้าน
  1. สะอาด ร่มรื่น เป็นระเบียบ จัดเก็บสิ่งของเป็นสัดส่วน
  1. ในกรณีที่มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ เป็นต้น ต้องจัดคอกสัตว์ให้ไกล อยู่นอกตัวบ้าน ล้างทำความสะอาดสม่ำเสมอ (ไม่ควรมีคอกสัตว์ใต้ถุนบ้าน)
  1. ไม่มีขยะทุกชนิด ป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาบ และแหล่งอาหารหนู
  1. ไม่มีน้ำขังในหลุมบ่อ หรือภาชนะต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  1. ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น ภายในบ้าน
  1. อากาศถ่ายเทสะดวก
  1. มีแสงสว่างเพียงพอ
  1. จัดห้อง / พื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วน จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้เป็นระเบียบ ทำความสะอาดประจำสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  1. แยกขยะก่อนทิ้ง
  1. มีที่รองรับขยะ ทิ้ง / กำจัดขยะสม่ำเสมอ(ไม่ควรมีขยะตกค้างในบ้านและบริเวณบ้าน)
  1. มีน้ำดื่มน้ำใช้สะอาด(น้ำประปา น้ำกรอง น้ำต้ม เป็นต้น)เพียงพอ
  1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด(นอนกางมุ้ง / ติดมุ้งลวด)
  1. กำจัดแหล่งยุงในบ้าน
  1. อาหารปรุงสุก มีภาชนะปกปิด (เช่นฝาชีครอบหรือใส่ตู้กับข้าว หรือตู้เย็น)
  1. หมั่นบำรุงรักษา ดูแลตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดให้อยู่ในสภาพดี
  1. ไม่เปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น สุขภาวะในครอบครัว เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของทุกคน สมาชิกในครอบครัวจะ
  1. อาบน้ำ แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  1. ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
  1. รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด ปราศจากสารอันตรายต่อร่างกาย
  1. ควรมีภาชนะดื่มน้ำของตัวเอง(ไม่ควรใช้ปะปนกัน เพื่อป้องกันโรคติดต่อ)
  1. ควรใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอหรือจามทุกครั้ง
  1. ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสพสารเสพติด และเล่นการพนันทุกชนิด รวมทั้งไม่ส่ำส่อนทางเพศ
  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที
  1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  1. เข้าวัด โบสถ์ มัสยิด ทำบุญ ร่วมสาธารณะกุศล